เงินคืออะไรกันแน่?
“เงิน” คงไม่มีใครที่ไม่เข้าความหมายของคำ คำนี้แน่นอน ดังนั้นคงไม่ต้องพูดถึงกันต่อถึงความหมายและที่มาของเงินแล้วแหละ แต่สิ่งที่จะพูดถึงก็คือจริงๆแล้วเงินคืออะไรกันแน่?
เมื่อก่อนที่มีเงินเข้ามาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เราก็ใช้สิ่งของแลกเปลี่ยนกัน แต่สิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยนก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายว่าตกลงกันได้หรือไม่ แต่หลังจากที่เกิดความวุ่นวายเรื่องของสิ่งแลกเปลี่ยนไม่ตรงความต้องการทำให้การแลกเปลี่ยนเกิดความยุ่งยากมนุษย์อย่างเราก็เลยต้องหาตัวกลางที่เรียกว่าเงินเข้ามาแทนที่เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นในการใช้งาน แต่พอทำความเข้าใจลงลึกเข้าไปอีก เงินตราในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ล้วนมีคุณค่าและที่มาแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการอ้างอิงกับมูลค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เงินตรานั้นๆผูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็น แร่ต่างๆตามยุคสมัย จนมาถึง ทองคำ และ น้ำมัน แต่ปัจจุบันเหมือนจะมีเงินในรูปแบบใหม่ที่เป็นนิยมกันอย่างแพร่หลายที่เรียกว่า "เงินตราดิจิตอล” ซึ่งต้องนี้เป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก แต่ตอนนี้ก็ยังไม่เป็นที่สรุปอย่างชัดเจนว่าจะสามารถเป็นตัวกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนได้จริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ “เงินตรากดิจิตอล” เหล่านี้ก็เริ่มมีมูลค่าขึ้นมาแล้ว หรือนี่อาจจะเป็นเงินตราชนิดใหม่ของมนุษย์ยุคปัจจุบัน แต่ในวันนี้ผมขอไม่พูดถึงรายละเอียดของเงินตราต่างๆ เพราะวันนี้สิ่งที่เราจะพูดถึงกันคือเงินคืออะไรกันแน่
จากที่เกริ่นมากทั้งหมดเราพอจะเห็นภาพรวมของคำว่า “เงิน” แล้วใช่ไหม ถ้างั้นเรามองเห็นหรือไม่ว่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือจริงๆแล้วเงินคือสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยแค่เลือกแล้วตกลงกันเองว่าสิ่งไหนคือเงินสิ่งไหนไม่ใช่เงิน ถ้าอย่างงั้นเงินก็ไม่ต่างจากความพึงพอใจของคนหมู่มาก หรือคนที่มีอำนาจในการออกเสียงยอมรับว่าสิ่งใดคือเงินหรือสิ่งใดไม่ใช่เงิน แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เงินที่เรามีอยู่ตอนนี้คือเงินจริงๆไหม ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าก็ใช่เงินอยู่ดีไม่ว่าจะเป็น เงินสกุลใดๆก็ตามก็ยังคือเงินอยู่ดี แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือมูลค่าของเงินต่างหากที่เปลี่ยนไป แล้วมูลค่าของเงินที่เปลี่ยนไปของยุคปัจจุบันขึ้นอยู่กับอะไรล่ะ ก็คงต้องยกตัวอย่างจากเงินที่เราใช้อยู่นี่แหละซึ่งก็คือเงินบาท ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าเงินบาทขึ้นก็คือปริมานเงินที่ประชาชนคนทั่วไปถือครองอยู่นั่นเอง ซึ่งหมายถึงเมื่อประชาชนมีเงินมากก็จับจ่ายใช้สอยได้มาก ราคาสิ่งของก็จะมากตามไปด้วย เรียกว่าสภาวะเงินเฟ้อ แต่หากประชาชนมีเงินน้อยจับจ่ายใช้สอยไม่ค่อยได้ราคาสิ่งของก็จะปรับตัวลดลงมาเพื่อให้สอดคล้องกับปริมานของเงินในระบบมูลค่าเงินก็จะเพิ่มขึ้น แต่ก็จะทำให้เกิดสภาวะเงินฝืดได้ ไว้จะมาลงรายละเอียดปลีกย่อยให้ในบทต่อๆไปถึงเรื่องสภาวะของเงินต่างๆ ว่ามีผลดีผลเสียต่างกันอย่างไร
สรุปคือจริงๆ แล้ว “เงิน” คืออะไรกันแน่จากที่กล่าวมาก็เหมือนจะหาคำตอบที่กระจ่างไม่ได้อยู่ดี เพราะ “เงิน” ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือคำว่า “เงิน” นั้นเป็นแค่คำที่ใช้เรียกสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของต่างๆของมนุษย์แค่นั้น แล้ว “เงิน” ในวันนี้จะยังคงเป็นเงินในวันต่อๆไปไหม หรือจะมี “เงิน” ในรูปแบบอื่นๆเข้ามามีมูลค่าแทน “เงิน” ที่เราเรียกอยู่ในวันนี้ แล้ว “เงิน” ของคุณล่ะคืออะไร…
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้