สภาวะเงินเฟ้อ

Post Images

“สภาวะเงินเฟ้อ”

ด้วยระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้หลายๆคนคงเริ่มได้ยินคำๆนี้มากันบ้างแล้ว แล้วคำๆนี้นั้นมีที่มาและหมายถึงอะไร เดี๋ยววันนี้จะมาเล่าให้ฟังกันว่า “สภาวะเงินเฟ้อ” นั้นคืออะไร

เคยสงสัยไหมว่าทำไมกันเมื่อปีที่แล้วป้านิดขายก๋วยจั๊บญวนชามละ 30 บาทอยู่ดีๆ พอมาวันนี้ก็ขึ้นมาเป็น 40 บาทไปซะอย่างงั้น ทั้งๆที่สินค้าและบริการก็ยังคงเดิมมีแต่เพียงราคาเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น ด้วยความสงสัยจึงได้ถามแม้ค้าไป สรุปได้คำตอบมาว่า “ข้าวของมันแพงขึ้นทำให้ต้องเพิ่มราคาขืนขายตามเดิมก็ก็จะขาดทุน” หลังจากได้คำตอบก็มองไปรอบๆตัวก็จริงอย่างป้าแกบอก เพราะสินค้าและบริการอื่นๆก็ต่างปรับราคาขึ้นด้วยเหมือนกันทั้งนั้น แล้วมันเป็นแบบนี้ไปได้อย่างไร แบบนี้ใช่ไหมที่เรียกว่า “สภาวะเงินเฟ้อ”

ถูกต้องแล้วนี่แหละคือ “สภาวะเงินเฟ้อ” นั่นเอง สภาวะเงินเฟ้อ เกิดจากสภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วๆ ไปปรับตัวเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยที่สินค้าและบริการต่างๆ มีจำนวนคงที่เท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า การเพิ่มขึ้นของระดับราคา สภาวะเงินเฟ้อแบ่งออกได้หลายลักษณะ แตกต่างกันตามสาเหตุ ดังนี้ 

สภาวะเงินเฟ้อ เนื่องมาจาก แรงดึงของอุปสงค์ ถ้าให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เป็นสภาวะที่มีการขยายตัวของปริมาณเงินที่อยู่ในอัตราสูงกว่าการขยายตัวของปริมาณผลผลิต จึงทำให้ราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยผลกระทบมาจาก ปริมาณเงินที่มีหมุนเวียนในระบบมีเพิ่มขึ้น

สภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก แรงผลักดันของต้นทุน ในรูปแบบนี้เป็นสภาวะที่เกิดจากปัจจัยต้นทุนของการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้ปริมาณการผลิตลดลง แต่กลับทำให้ราคาสินค้าและบริการดันสูงขึ้น สภาวะนี้เป็นเงินเฟ้อที่ถูกกำหนดโดยอุปทาน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกตุสภาวะนี้ก็คือ สภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากแรงผลักดันของค่าจ้าง สภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากแรงผลักดันของกำไร สภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆ
สภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก การบวกเพิ่ม เป็นสภาวะที่ผู้ผลิต และแรงงานต่างก็ใช้วิธีการตั้งราคาและคิดค่าแรง โดยวิธีบวกส่วนเพิ่มเข้าไปในราคาสิค้า ผ่านทางกำไรและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปจึงสูงขึ้น

สภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก ลัษณะโคงสร้าง เป็นสภาวะที่เกิดเนื่องจากโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจที่ไม่เอื่ออำนวยต่อการเคลื่อนย้ายของปัจจัยการผลิต ถ้าให้เข้าใจก็คือ ช่วงนี้มีความต้องการทุเรียนสูงมากชาวนาก็เลยเปลี่ยนจากนาข้าวและสวนยางไปเป็นสวนทุเรียนกันหมด พอเวลาผ่านไปสวนทุเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเยอะมากแต่ความต้องการทุเรียนลดลงความต้องการในตลาดเปลี่ยนไปเป็นมังคุดแทนทำให้ราคาทุเรียนปรับตัวลดลงแต่มังคุดกลับขึ้นราคาเพราะจำนวนสวนมังคุดมีเท่าเดิมไม่สามารถผลิตออกมาตอบสนองความต้องการได้ทันในช่วงเวลาเพราะกว่าจะปลูกต้นมังคุดให้โตจนออกลูกก็อีกนานกว่าจะได้ และรวมไปถึงรูปแบบการผลิตและต้นทุนที่ปรับเปลี่ยนในการเปลี่ยนจากการปลูกทุเรียนไปเป็นมังคุดอีก

จากนี้เวลาเราเจอสินค้าและบริการที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น เราก็จะพอมองออกแล้วใช่ไหมว่าสาเหตุเหล่านี้เกิดมาจากสภาวะไหน แต่เรื่องของเงินเฟ้อยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีเรื่องของอัตราและผลกระทบของเงินเฟ้ออีกที่น่าสนใจ เอาไว้จะมาเล่าต่อในบทต่อไปแล้วกัน วันนี้หวังว่าทุกๆท่านจะได้ความรู้เรื่องของเงินเฟ้อกันไปบ้าง จะได้พอเข้าใจถึงรูปแบบปัญหาที่เราต้องเจอไว้เป็นแนวทางในการปรับใช้ในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น

“ผลกระทบของเงินเฟ้อ”

ผลกระทบของเงินเฟ้อแบ่งออกอย่างง่ายได้ 3 ระดับ คือ สภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน สภาวะเงินเฟ้ออย่างกลาง และ สภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

  • สภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน เป็นสภาวะเงินเฟ้อที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วๆ ไป ค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 1-5 ต่อปี โดยประมาณ สภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและกำลังขยายตัว เป็นสภาวะที่ถือว่าค่อนข้างดีเพราะว่า จะทำให้การผลิตและการลงทุนมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยการเพิ่มของระดับราคาสินค้านั้นจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนเพิ่ม สงผลให้ผลผลิตมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้มีการจ้างงานเพิ่ม สงผลต่อเนื่อให้ประชาชนมีรายได้จากการจ้างงาน ต่อเนื่องไปจนรายได้ประชาชาติก็จะสูงเพิ่มตามไปด้วย
  • สภาวะเงินเฟ้ออย่างกลางๆ เป็นสภาวะเงินเฟ้อที่ระดับสูงขึ้นมาที่ระดับ อัตราร้อยละ 5-20 ต่อปี เนื่องด้วยมีการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นจนประชาชนปรับตัวไม่ทัน สงผลกระทบรุนแรงต่อประชาชนที่ทำงานเป็นแรงงานเนื่องด้วยรายได้ที่ได้รับปรับไม่ทันกับรายจ่ายที่ปรับตัวขึ้น สภาวะเงินเฟ้อระดับกลางนี้จะสงผลโดยตรงต่อประชาชนมากกว่าผู้ผลิตเนื่องจากผู้ผลิตจะสามารถผลักภาระส่วนต่างไปยังผู้บริโภคได้ผ่านทางระดับราคาสินค้าและบริการ แต่กระนั้นก็สงผลกระทบต่อรายย่อยเหมือนกันเพราะสินค้าและบริการต่างๆย่อมมีการปรับตัวสูงขึ้นตามไปเรื่อยๆ
  • สภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง สภาวะนี้คนจะเกิดขึ้นในระดับที่มีการปรับตัวเกิดขึ้นมากว่า ร้อยละ 20 ต่อปี และมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ สภาวะเงินเฟ้อในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความไม่เสถียรภาพในเงินตรา หรือเรียกง่ายๆว่า ค่าเงินภายในของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเกิดผลกระทบไปทุกภาคส่วนอย่างรุนแรงเนื่องจากรายได้ที่ได้รับจากการขยายการผลิตการลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ทันกับสภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปริมานการลงทุนและการผลิตไม่ขยายตัว และมีแนวโน้มที่จะลดลงด้วย สงผลต่อเนื่องให้ปริมานผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่ทันกับระดับราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ยึ่งสงผลให้สภาวะนี้รุนแรงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเกิดสภาวะเงินเฟ้อรูปแบบใดก็ตามผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนเป็นอัพดับแรงและรุนแรงขึ้นตามระดับก็คือ กลุ่มคนที่มีรายได้ประจำในลักษณะคงที่หรือมีรายได้เปลี่ยนแปลงน้อย เช่น เจ้าหนี้ ข้าราชการบำนาญ ข้าราชการปัจจุบัน ลูกจ้าง กรรมกร และผู้มีรายได้ประจำอื่นๆ

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าผลกระทบของเงินเฟ้อนั้นค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว ดังนั้นการที่เราไม่รู้เรื่องการเงินเลยนั้นคงเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่า จากเนื้อหาข้างต้นนี้คงพอทำให้ทุกๆท่านได้พอเข้าใจถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากสภาวะเงินเฟ้อกันพอสมควร ดังนั้นท่านใดที่พอมองเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองและคนรอบข้างอย่าลืมแนะนำเรื่องราวดีๆเหล่านี้ส่งต่อให้พวกเขาเหล่านั้นด้วย เพื่อเป็นแนวทางการปรับตัวและรับรู้ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงการรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอานาคตได้

“เงินเฟ้อแล้วแก้ได้ไหม”

จากบทความเรื่องของเงินเฟ้อที่ผ่านมานั้นได้พูดถึงแต่สาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น แล้ววิธีการแก้ไขล่ะมีไหม วันนี่เราจะมาดูกันว่าเมื่อเกิดสภาวะเงินเฟ้อแล้วเราจะทำยังไงได้บ้าง 

การแก้ไขสภาวะเงินเฟ้อนั้น แก้ไขได้เพียงแค่ ป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ซึ่งทำได้โดยการลดอุปสงค์รวมและการเพิ่มอุปทานรวม โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีที่นิยมคือการลดอุปสงค์รวม ถึงแม้วิธีนี้จะไม่อาจแก้ไขสภาวะเงินเฟ้อได้มากก็ตาม แต่เนื่องด้วยเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วกว่าวิธีอื่นๆ และยังมีการแก้ไขอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้มาตรการของนโยบายการเงิน การใช้มาตรการของนโยบายการคลัง การใช้มาตรการของนโยบายการค้า 

  • นโยบายการเงิน – เป็นลักษณะของการลดปริมาณเงิน และเครดิตในมือประชาชน โดยการขายพันธบัตรรัฐบาล เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฏหมาย หรือการชักจูงด้วยศีลธรรม
  • นโยบายการคลัง – เป็นลักษณะของการเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายของภาครัฐโดยการเพิ่มอัตราและประสิทธิภาพในการเก็บภาษี และลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
  • นโยบายการค้า – เป็นลักษณะของการส่งเสริมการขยายตัวในการส่งออก ลดการนำเข้า เพื่อให้เกิดการเกินดุลการค้าและดุลการชำระเงิน

การใช้มาตรการดังกล่าว จะบรรลุผลสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ถึงแม้ว่า การใช้มาตรการเหล่านี้ จะส่งผลกระทบแก่ระบบเศรษฐกิจในแง่ลบ แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ทางด้วยสังคมและการเมืองของแต่ละประเทศ

จากเนื้อหาทั้งหมดนั้นจะเห็นว่าการแก็ไขสภาวะเงินเฟ้อนั้นยิ่งใหญ่และกว้างมากและแต่ละขั้นตอนนั้นก็ไม่สามารถจะบอกได้เลยว่าหลังจากที่ใช้มาตรการเหล่านี้แล้วจะสามารถแก้ไขสภาวะเงินเฟ้อได้เด็ดขาดแค่ไหน ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือเราต้องเตรียมความพร้อมไว้เสมอถึงแม้จะเกิดขึ้นรุนแรกมากหรือน้อยก็ตามเพราะสุดท้ายแล้วสภาวะเงินเฟ้อนั้นเกิดขึ้นอยู่รอบตัวเรามาตลอดแล้วนับวันก็ยิ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย

Panya Kumsri
เกษตกรวัดดอนแตง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความและ like กด share ให้เราด้วยน๊าาา ขอบคุณสำหรับความสนใจในบทความนี้ :)