เงินตึง

Post Images

“เงินตึง”

จากก่อนหน้านี้เราได้มีการพูดถึงสภาวะทางการเงินของระบบเศรษฐกิจ ไปสองรูปแบบ นั่นก็คือ สภาวะเงินเฟ้อ และ สภาวะเงินฝืด ต่อมาก็มาถึงสภาวะสุดท้ายของระบบการเงินก็คือ “สภาวะเงินตึง” อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเพราะส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยได้สัมผัสกับสภาวะนี้เท่าไหร่ เนื่องจากสภาวะนี้มักสอดคล้องกับการลงทุนสะมากกว่า ซึ้งก็ยังสวนทางกับอุปสงค์ของระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังไม่สูงเท่าที่ควร

“สภาวะเงินตึง” คือ สภาวะที่ความต้องการถือเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีจำนวนมากกว่า ปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่าเป็นความต้องการที่อุปสงค์ต่อเงินมากกว่าอุปทานของเงิน จนก่อให้เกิดความขาดแคลนเงินและเครดิตที่จะนำไปใช้ในการผลิต และการลงทุน รวมไปถึงการจ้างงานด้วยเช่นกัน เมื่อเกิดสภาวะนี้ก็จะทำให้การดำเนินการจ่างๆในระบบเศรษฐกิจเกิดการชะงักไปชั่วขณะหนึ่ง หรือคล้ายๆกับสภาวะเงินฝืดนั้นแหละ

สาเหตุของสภาวะเงินตึง แบ่งออกเป็นสาเหตุใหญ่ๆ ได้ 3 ปัจจัย ก็คือ

  • สาเหตุด้านอัตราดอกเบี้ย – เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศที่มีอัตราสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ก่อให้เกิดการไหลออกของเงินจากภายในประเทศ เป็นสาเหตุในเงินภายในประเทศมีจำนวนลดลงโดยที่ปริมาณความต้องการเงินปรับตัวลดลงไม่สอดคล้องกัน
  • สาเหตุด้วยการใช้มาตรการของนโยบายการเงินและการคลัง – เกิดสืบเนื่องจากการแก้ไขสภาวะเงินเฟ้อ หรือเพื่อวัตถุกระสงค์อื่นๆ ภายในประเทศ ในลักษณะที่ทำให้ปริมาณเงินและเครดิตลดลงกะทันกัน โดยปริมาณความต้องการเงินไม่ลดลงตามไปด้วย
  • สาเหตุด้านการออม – อาจเกิดได้จากทั้งสองสภาวะก่อนหน้านี้ ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด โดยจะเป็นรูปแบบของการเก็บเงินไว้กับตัวเอง หรือเก็บไว้ในรูปแบบของทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆ โดยไม่ผ่านสถาบันทางการเงิน ก็จะทำให้ปริมาณของเงินและเครดิตภายในประเทศไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร บวกกับมีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า ดังนั้นก็จะส่งผลให้เกิดสภาวะเงินตึงได้

ทั้งนี้หากสภาวะเงินตึงที่เกิดขึ้นเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆก็อาจไม่สงผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกินสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มผู้ผลิต ผู้ลงทุน และกลุ่มพ่อค้าต่างๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดการชะงักตัวในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทำให้อาจจะต้องเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ หรือขาดทุนไปบ้าง ส่วนผู้บริโภคที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการลงทุนโดยตรง ก็อาจไม่เสียผลประโยชน์สักเท่าไหร่ แต่หากเกิดขึ้นยาวนานก็จะส่งผลลุกลามไปจนถึงสภาวะเงินฝืดนั่นเอง

การแก้ไขสภาวะเงินตึงนั้นจะสามารถโดยการรัฐบาลจะต้องเลือกใช้มาตรการต่างๆ ของนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อเพิ่มปริมาณเงินและเครดิตภายในประเทศได้หลายวิธี เช่น การลดอัตรารับช่วงตั๋วเงิน การลดอัตราสำรองกฏหมาย การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าเงินทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ก็แก้ไขได้เพียงแค่ปัจจัยภายในประเทศเท่านั้น หากสภาวะเงินตึงเกิดจากสภาวะภายนอกก็อาจจะส่งผลให้การแก้ไขได้ยากขึ้นเพราะรัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกประเทศได้

จากเนื้อหาของสภาวะเงินตึงนั้นอาจจะคล้ายๆกับเงินฝืดนั้นเองแต่รูปแบบอาจจะดูไม่รุนแรงเท่ากัน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจจะสงผลกระทบลุกลามไปจนเกิดความรุนแรงในระดับนั้นก็ได้ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะไหนๆของเรื่องการเงินในระบบเศรษฐกิจ ผมก็ยังขอยืนยันด้วยรูปแบบเดิมๆ คือต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องระบบการเงินและเศรฐกิจติดตัวไว้เสมอเพื่อจะได้มีความเข้าใจและสามารถคาดเดารูปแบบของสภาวะทางการเงินต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้

 

Panya Kumsri
เกษตกรวัดดอนแตง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความและ like กด share ให้เราด้วยน๊าาา ขอบคุณสำหรับความสนใจในบทความนี้ :)