Value Averaging (VA)

Post Images

Value Averaging (VA)

ก่อนหน้านี้เราได้ทำความรู้จักกับการลงทุนแบบ Dollar Cost Average (DCA) กันไปแล้ว วันนี้ก็มีอีกหนึ่งรูปแบบของการลงทุนที่คล้ายๆกับกับการลงทุนแบบ DCA นั่นก็คือ Value Averaging หรือเรียกย่อๆ ว่า VA รูปแบบของการลงทุนแบบ VA นั้นจะเน้นไปที่มูลค่าของพอร์ตของการลงทุนเป็นหลัก แต่ก็ยังคล้ายกันกับการลงทุนแบบ DCA อยู่ตรงที่ทั้งสองรูปแบบก็มีการเฉลี่ยต้นทุนของราคากันทั้งคู่ เพราะไม่ว่าจะรูปแบบการลงทุนแบบ DCA หรือ VA ก็ยังคงเป็นรูปแบบของการลงทุนแบบสม่ำเสมออยู่ดี ดังนั้นก็ยังคงเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นอยากจะลงทุนแต่ยังไม่มีความรู้มากนักสามารถเอาไปปรับใช้ได้อย่างง่ายดาย

การลงทุนแบบ Value Averaging (VA) นั้นจะมุ่งเน้นไปที่มูลค่าของพอร์ตเป็นหลัก ดังนั้นก่อนที่เราจะวางแผนการลงทุนนั้นเราควรมีการเตรียมเงินสำรองสำหรับการลงทุนไว้ด้วย เพราะเนื่องจากการลงทุนที่มุ่งเน้นที่มูลค่าของพอทเป็นหลักนั้นหมายถึงว่าในช่วงเวลาที่มูลค่าของหุ่นนั้นปรับตัวลงอาจจะทำให้เราต้องเพิ่มจำนวนเงินในการลงทุนเพิ่มเข้าไปทดแทนมูลค่าของพอทที่หายไป แต่ในบางครั้งที่มูลค่าของพอทปรับตัวขึ้นเกินกว่ามูลค่าที่เราตั้งเป้าไว้เราอาจจะไม่ต้องเพิ่มเงินลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ด้วยเช่นกันหรืออาจจะถอนส่วนที่เกินกว่ามูลค่าที่เราตั้งเป้าไว้ออกมาก็ได้

ก่อนอื่นเลยรูปแบบของการลงทุนแบบ Value Averaging (VA) นั้นก็ยังถือว่าเป็นรูปแบบการลงทุนในระยะยาวเช่นกันกับการลงทุนแบบ DCA ดังนั้นการเลือกหุ้นที่จะใช้สำหรับการลงทุนรูปแบบนี้ก็ยังคงเป็นแบบเดียวกันกับแบบ DCA ดังนั้นผู้ลงทุนควรที่จะวางแผนเรื่องการเงินในระยะยาวด้วยเช่นกันก่อนที่จะทำการลงทุนในรูปแบบนี้

มาถึงวิธีการลงทุนแบบ Value Averaging (VA) ก็คือ เราจะกำหนดว่าเราอยากให้พอทมีการเติบโตสักเท่าไหร่ในแต่ละครั้งที่เราลงทุน เช่น เราอยากให้พอทเราเติมโตเพิ่มขึ้น 1000 บาททุกๆ เดือน ไปเรื่อยๆ เดือนละ 1000 บาท พอมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะบอกก็เหมือนกับการลงทุนแบบ DCA เลยหนิเพราะก็เพิ่มขึ้นเดือนละ 1000 ไปเรื่อยๆเหมือนเดิม แล้วจะต่างกันตรงไหน แต่เปล่าเลยเพราะว่าการลงทุนแบบ DCA คือลงทุนโดยลงเงินเท่าๆกันทุกเดือนไม่ได้สนใจว่ามูลค่าจะอยู่ที่เท่าไหร่เพราะว่าไม่ว่ายังไงเราก็ยังคงเพิ่มทุนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่กลับกันกับการลงทุนแบบ Value Averaging (VA) เพราะว่าถ้าหากมูลค่าพอทเติบโตถึงเป้าเราก็ไม่ต้องเพิ่มทุนเข้าไปช่วย ทำให้เราสามารถเก็บเงินไปทบกับรอบของการลงทุนครั้งต่อไปได้ แต่ตรงกันข้ามหากปรับมูลค่าลงเราก็ต้องเพิ่มเงินลงทุนเยอะกว่าเดิมเข้าไปอีก หรือพูดง่ายๆก็คือ ช่วงของแพงขึ้นชั้นไม่ซื้อ พอของถูกลงชั้นซื้อเยอะขึ้นนั่นเอง เผื่อให้เข้าจ่ายง่ายขึ้นเราไปดูที่ตารางกันเถอะ

จากตารางจะเห็นว่าในช่วงเวลาต่างๆที่ราคาหุ้นปรับเปลี่ยนไปมา จำนวนเงินที่เราใช้ลงทุนก็ปรับตามไปเช่นกันนั่นก็เพราะว่าเราใช้มูลค่าของพอทเป็นตัวกำหนดในการลงทุนนั่นเอง ในช่วงเวลาที่ยิ่งราคาหุ้นปรับขึ้นก็ยิ่งทำให้เราไม่ต้องลงทุนเพิ่มแต่กลับกันหากราคาปรับลงเยอะเราก็ต้องลงทุนเพิ่มเยอะตามไปด้วย

จากตารางทั้งสองแบบจะเห็นว่าแบบที่ 1 นั้นเงินลงทุนจะมากกว่าแบบที่สองสรุปแล้วก็คือในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นถูกเราจะซื้อเยอะขึ้นนั่นเอง ส่วนในช่วงเวลาหุ้นราคาแพงเราจะซื้อน้อยลง ถึงแม้ค่าเฉลี่ยของราคาทั้งสองแบบจะเท่ากันแต่จะเห็นได้ว่าแบบที่ 1 จะใช้เงินลงทุนมากกว่า แต่ก็จะได้จำนวนหุ้นที่มากกว่าตามไปด้วย

เป็นยังไงกันบ้างพอเห็นภาพรวมของการลงทุนในรูปแบบนี้กันบ้างหรือยัง สรุปแล้วไม่ว่าจะรูปแบบการลงทุนแบบใดก็ตาม ผู้ลงทุนก็ควรใช้ข้อมูลและความรู้ในการลงทุนอยู่เสมอ ยิ่งมีความรู้และความเข้าใจในการลงทุนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ผู้ลงทุนนั้นเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความและ like กด share ให้เราด้วยน๊าาา ขอบคุณสำหรับความสนใจในบทความนี้ :)