สถานะการเงินติดลบต้องทำอย่างไร
สวัดดีครับเพื่อนๆ วันนี้เราจะมาคุยกันในหัวข้อ “สถานะการเงินติดลบต้องทำอย่างไร”
แน่นอนละครับ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมานี้ ผู้คนเป็นหนี้เป็นสินกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่แสนยั่วยวนจากภาครัฐ เช่นบ้านหลังแรก รถคันแรก นโยบายการใช้วงเงินเครดิต โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม มากมายเต็มไปหมด แม้กระทั้งตอนนี้ยังแทรกซึมไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เด็กเริ่มก่อหนี้มากมาย เพื่อนๆ ที่ฐานะการเงินติดลบ พูดง่ายๆ เลยก็คือ รายได้ที่หามาไม่เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือนอย่างไงละครับ ถึงขั้นต้องหยิบยืมจากคนอื่นทุกเดือน กดเงินสดล่วงหน้ามาใช้ หนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้นในทุกๆเดือน “แล้วเราจะเริ่มแก้ปัญหาอย่างไรในเมื่อไลฟ์สไตน์เป็นแบบนี้” อย่างแรกเลยเพื่อนๆ ต้องแยกระหว่าง “จำเป็น” กับ “ต้องการ” ออกจากกันให้ได้ ความจำเป็นก็คือขาดมันไม่ได้ต้องกินต้องใช้ แน่นอนละครับก็คือปัจจัย 4 นั่นเอง ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เดี๋ยวจะยกตัวอย่างให้เพื่อนๆดูนะครับ การแยกระหว่างความจำเป็น กับ ความต้องการออกจากกัน เพื่อนๆเตรียมสมุดปากกามาจดกันนะครับ ว่าเพื่อนๆ มีรายการไหนบ้างที่อยู่ใน 2 หมวดนี้
ตัวอย่าง นายฮาร์ดแมน ทำงานโรงงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง เงินเดือนรวมโอทีและเงินพิเศษเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท บริษัทมีรถรับส่งพนักงาน และเสาร์-อาทิตย์ ขับวินมอไซด์ รายได้เฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท นายฮาร์ดแมนโสด มีบ้านที่ยังผ่อนอยู่ เดือนละ 15,000 บาท มีรถกระบะ 1 คัน ผ่อนอยู่เดือนละ 9,000 บาท เพื่อใช้ขับไปทำงาน เขามีบัตรเครดิตหลายธนาคาร นายฮาร์แมนชอบสังสรรค์กับเพื่อนทุกอาทิตย์ และมักจะเปลี่ยนรุ่นโทรศัพท์ให้ทันสมัยตลอด เกือบทุกวันเขาจะนั่งกินข้าวในร้านและสั่งเบียร์กิน มื้อละประมาณ 200-300 บาท เขาทำงานมา 3 ปีแล้ว แต่นายฮาร์ดแมนรู้สึกว่าเขาไม่มีเงินเก็บในบัญชีธนาคารเลย แถมยังพบว่าหนี้บัตรสูงขึ้นใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด และยังชอบหยิบยืมเพื่อนร่วมงานและญาติเขาเสมอ จากตัวอย่างของนายฮาร์ดแมน เพื่อนๆ พอจะแยกระหว่างความจำเป็นกับความต้องการออกได้บ้างไหมครับ เรามาริ่มกันเลย แต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกันละครับ
ความจำเป็น – บ้านที่ผ่อนเดือนละ 15,000 บาท ,โทรศัพท์มือถือ,สังสรรค์กับเพื่อน,นั่งกินข้าวในร้าน
ความต้องการ – รถกระบะ,บัตรเครดิต,เปลี่ยนรุ่นโทรศัพท์,ลดสังสรรค์,ลดนั่งกินข้าวนอกบ้าน
วิธีแก้ปัญหาเพื่อสภาพการเงินให้ดีขึ้น ต้องเริ่มจากสิ่งที่ทำง่ายก่อนและยากขึ้นตามลำดับ จากตัวอย่างเพื่อนๆ มองว่าอะไรที่ปรับเปลี่ยนแล้วง่ายที่สุดครับ ทางเราขอเลือกเป็นเรื่องของ สังสรรค์กับเพื่อนทุกอาทิตย์ ครับ ให้ปรับเป็น อาทิตย์เว้นอาทิตย์ หรือไม่ก็เดือนละ 1 ครั้งครับ ต่อไปให้ลดการกินข้าวในร้านลงหันมาก็กับข้าวมากินที่บ้านอาจจะไม่ถึงมื้อละ 200-300 บาทนะครับ มื้อไหนอยากกินนอกบ้านค่อยกินครับ ปรับ 2 อย่างนี้ก่อน หากได้ผลรายได้เพียงพอกับรายจ่ายก็ถือว่าผ่านนะครับ หากปรับแล้วยังไม่เพียงพอ ให้ใช้สเตปต่อไปครับ คือ ไม่ไล่ตามเทคโนโลยีของใหม่ล่าสุด ใช้โทรศัพท์ตามความเหมาะสม ลดบัตรเครดิตลงให้เหลือเพียง 1 ใบ ที่เหลือปิดบัตรไปเลย หากใช้เต็มวงเงินแล้วก็หยุดครับ ถ้า 4 เรื่องนี้ไม่เพียงพออีก วิธีสุดท้าย ขายรถกระบะ และใช้รถรับส่งพนักงานแทน อย่างน้อยก็ยังมีมอเตอร์ไซด์นะครับ (อาชีพเสริมขับวิน) เราอยากให้ลองปรับจากง่ายก่อนนะครับ หากเพียงพอแล้วก็ถือว่าผ่านด่านครับ
“เราต่างมีตุ่มน้ำคนละใบ รายได้ที่เราหามาได้ก็เหมือนน้ำที่เติมลงตุ่ม ค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายออกไปก็เหมือนรอยรั่ว หากมีรอยรั่วเยอะและใหญ่ ต่อให้คุณเติมน้ำเข้าไปมากเท่าไหร่ก็ไม่มีวันพอ”
เราเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ผ่านด่านแรกให้ได้นะครับ อาจจะดูขัดกับความรู้สึกหรือสภาวะความเคยชิน แต่การเปลี่ยนแปลง ย่อมเกิดสิ่งใหม่ๆเสมอนะครับ บริษัทยังต้องปรับเปลี่ยนเมื่อมีผลขาดทุนทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาด การคิดค้นสิ่งใหม่ การขยายช่องทางการตลาด เพื่อจะได้พลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร คนก็เหมือนกับบริษัทนะครับ หากการเงินเราติดลบ ก็ต้องหาวิธีเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น สู้ๆนะครับเพื่อนๆ
เมื่อผ่านแล้วด่านแรกแล้ว หลายคนอาจรู้สึกว่าดีแล้ว พอแล้ว เหนื่อยแล้ว ไม่มีหนี้คือลาภอันประเสริฐ อย่างที่บอกละครับ เป็นแค่การผ่านด่านแรกเท่านั้น อย่าพึ่งท้อกันนะครับ ครั้งต่อไปพบกันใหม่ในหัวข้อ “ใช้เงินเดือนชนเดือน ดีอยู่แล้วหรือดีได้อีก” สวัดดีครับ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้