ใช้เงินเดือนชนเดือน ดีอยู่แล้วหรือดีได้อีก
สวัดดีครับเพื่อนๆ วันนี้เราจะมาคุยกันในหัวข้อ “ใช้เงินเดือนชนเดือน ดีอยู่แล้วหรือดีได้อีก”
เพื่อนๆรู้ไหมครับ คนจำนวนมากจะหยุดอยู่ที่จุดที่เรียกว่า ความสมดุล ก็คือ “รู้สึกว่าดีอยู่แล้ว ไม่อยากทำอะไรเพิ่มแล้ว ฉันมีเงินเดือนเพียงพอกับค่าใช้จ่าย อยากไปเที่ยวไหนก็ได้ อยากกินอะไรก็ได้กินส่วนเรื่องเงินเก็บหรือวางแผนเกษียรนั้น เดี๋ยวค่อยทำ ฉันขอให้รางวัลกับชีวิตก่อน” สำหรับ Mr.ฮาร์ดแมน มองว่า เมื่อเพื่อนๆ มีเป้าหมายไปสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเงิน เพื่อนๆ จะต้องทำสิ่งที่สำคัญนี้ ก็คือ การเก็บออม ถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการต่อยอดมุ่งสู่ความสำเร็จไงละครับ
ฉันก็พยายามเก็บเงินแล้ว แต่ผ่านมา 3 ปี ทำไมเงินเก็บมีแค่หลักหมื่นเองละ เมื่อผลลัพธ์ของความตั้งใจนั้นแสนเจ็บปวด วันนี้ MR.ฮาร์ดแมน จะมาบอกเพื่อนๆ ถึงเหตุผลว่าทำไมเก็บเงินได้น้อย และกุญแจสำคัญในการเก็บเงินคืออะไร เมื่อเพื่อนๆ ได้เงินเดือนมาแล้ว ก็จะใช้จ่ายไป และเหลือเท่าไหร่ก็จะเก็บออม บางเดือนก็เก็บได้มาก บางเดือนก็เก็บได้น้อย บางเดือนก็เก็บไม่ได้ และบางเดือนก็ต้องนำเงินเก็บเดือนก่อนมาใช้ นี่แหละครับคือสาเหตุของการมีเงินเก็บน้อย เมื่อสมการการเก็บเงินของเพื่อนๆไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ย่อมไม่ดีเหมือนกันครับ เหมือนการเขียนโปรแกรม ถ้านำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องป้อนเข้าไป ผลลัพธ์ก็ออกมาไม่ถูกต้อง และหากนำข้อมูลที่ถูกต้องป้อนเข้าไป แน่นอนครับผลลัพธ์นั้นยอมออกมาดี ฉะนั้นแล้วเพื่อนๆ ต้องปรับเปลี่ยนสมการออมเงินจาก “รายได้ – รายจ่าย = เงินออม” มาเป็น “รายได้ – เงินออม = รายจ่าย" หลายคนถามปรับแค่นี้จะได้ผลจริงเหรอ? ไม่ลองก็ไม่รู้ใช่ไหมละครับเพื่อนๆ แต่ Mr.ฮาร์ดแมน รับรองว่าได้ผลชัวร์ครับ
"รายได้ – รายจ่าย = เงินออม". VS "รายได้ – เงินออม = รายจ่าย"
ตัวอย่าง นายมด ทำงานบัญชี เงินเดือน 30,000 บาท เข้าสามารถประมาณรายจ่ายในแต่ละเดือนได้ประมาณ 25,000 บาท แน่นอนเข้าจะมีเงินเก็บเดือนละ 5,000 บาท เมื่อรับเงินเดือนมา เขาจะต้องโอนเงินเข้าบัญชีเงินเก็บทันที 5,000บาททุกๆเดือน Mr.ฮาร์ดแมนจะบอกว่า เงินเป็นสิ่งแปลก มาแล้วจะไปไวมาก ยิ่งจ่ายง่ายเท่าไหร่โอกาสจะเสียมันไปก็มาก ฉะนั้นเราต้องขังมันไว้ ให้มันออกมาได้ยากที่สุด ง่ายๆครับเพื่อนๆ เมื่อเราตั้งสมการแล้วว่าทุกเดือนจะเก็บเงินเท่าไร (ย้ำว่าเก็บไม่ให้ตัวเองเดือดร้อนนะครับ ใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงกับตอนที่ยังไม่เก็บนะครับ) เพื่อนๆ ไปที่ธนาคารแล้วเปิดบัญชีออมทรัพย์ ไม่ต้องทำบัตรเอทีเอ็ม ไม่ต้องทำอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ไม่ต้องทำประกัน “เปิดบัญชีอย่างเดียว” ได้สมุดบัญชีมาเก็บไว้ที่บ้านเท่านั้น ห้ามเก็บไว้กับตัวนะครับ แล้วเพื่อนๆ ก็เก็บเงินเข้าบัญชีนี้ทุกเดือน ความลำบากในการนำเงินออกมาใช้มีอิทธิพลในการเปลี่ยนใจเมื่อจะจ่ายอะไรบางอย่าง เช่น กระเป๋าใบนี้โดนใจมากกำลังจัดโปรโมชั่นลดราคา 20% แค่วันนี้เท่านั้น เมื่อเพื่อนๆเปิดดูเงินในกระเป๋าแล้ว มีไม่เพียงพอกับราคา แน่นอนละครับ เพื่อนๆจะนึกถึงแหล่งเงินเก็บในบัญชีออมเงิน ถ้ามีบัตรเอทีเอ็ม ก็แค่เดินไปที่ตู้แล้วกดเงินมาแล้วบอกเบาๆกับตู้เอทีเอ็มว่า “ขอยืมก่อนนะเดี๋ยวใช้คืนให้ พอดีกระเป๋าใบนี้มันใช่มาก” เมื่อเพื่อนๆ มีเงินในบัญชี แต่บังเอิญ การนำมันออกมาใช้ลำบาก ไหนจะต้องกลับบ้านเพื่อไปเอาสมุดบัญชีมา ต้องมาต่อคิวยาวเหยียดถอนเงินในธนาคารอีก มาซื้อวันหลังก็ไม่ได้เพราะลดราคาวันเดียว เมื่อความลำบากดูยิ่งใหญ่กว่าความอยากได้ เพื่อนๆก็จะสามารถทบทวนอีกครั้งว่าประเป๋าใบนั้นจำเป็นจริงไหม เมื่อใบเดิมก็ใช้ได้อยู่แล้ว
สรุปง่ายๆในฉบับ Mr.ฮาร์ดแมน มีเงินเก็บย่อมดีกว่าไม่มีเงินเก็บ การหักเงินเก็บไว้จะทำให้เพื่อนๆ บริหารเงินที่เหลืออยู่ได้ และจะสร้างเป็นนิสัยในการบริหารการเงินให้เก่งขึ้นได้ ได้ทั้งเงินเก็บได้ทั้งทักษะการบริหารเงิน Mr.ฮาร์ดแมนการันตีนะครับว่า การดำเนินชีวิตของเพื่อนๆไม่ต่างกันมากระหว่างตอนที่ไม่เก็บเงินกับตอนที่เก็บเงิน เมื่อมีเงินเก็บแล้วการรักษามันไว้ย่อมสำคัญไม่แพ้กัน การจัดการกับเงินเก็บรวมถึงวิธีการจัดการเงินเก็บจะมาคุยกันครั้งหน้านะครับ ครั้งต่อไปพบกันใหม่ในหัวข้อ “เงินออม จำเป็นต้องบริหาร” สวัดดีครับ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้